การบันทึกครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
ในต้นคาบอาจารย์ได้ให้ร้องเพลงของสัปดารห์ที่แล้ว
กิจกรรมแรกอาจารย์ให้ทำกิจกรรม Marshmallow Tower ให้จับกลุ่ม 5 คน และอาจารย์ได้ให้อุปกรณ์ดังนี้ 1.ดินน้ำมัน
2.ไม้จิ้มฟัน
3.กระดาษ
โดยให้แต่ละกลุ่มแข่งกันต่อให้ยาวที่สุด ภายในเวลา 5 นาที
ครั้งที่ 1 ให้ทำโดยห้ามคุยกัน
ครั้งแรกทำสูงได้ 10 เซน
รอบที่ 2 ได้ความสูงที่ 15.5
รอบสุดท้ายสูงได้ 18 เซน
กิจกรรมที่ 2 ไร่สตอเบอร์รี่ เป็นการตอบคำถามโดยใช้คำตอบแรกที่คิดได้
กิจกรรมที่ 3 เรือบรรทุกของ อาจารย์ได้ให้ของที่จะสร้างเรือคือ
1.กระดาษ A4
2.หนังยาง
3.ตะเกียบ 1 คู่
โดยเรือที่ทำออกมาต้องบรรทุซองซอสให้ได้เยอะที่สุดและห้ามจมน้ำ
กลุ่มดิฉันได้ 31 ซอง แต่เรือจมน้ำ
และกิจกรรมสุดท้ายคือกิจกรรมสร้างสรรค์ชุดจากกระดาษหนังสือพิมพ์ โดยอาจารย์ได้กำหนดว่าต้องมี เครื่องประดับหัว สร้อยคอ รองเท้า ประดับข้างหลัง ปรพดับแขน และอื่นๆ
เนื้อหาการเรียนการสอน
การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่น - กระบวนการเรียนรฝุ้และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
- ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
- ปรับตัวให้เข้ากับเพือนและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget มี 3 ขั้นดังนี้
1.ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส → สำรวจ จับต้อง ยุติลงเมื่ออายุ 2 ขวบ
2.ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ → การเล่นไม่มีขอบเขตจำกัด
3.ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ → เล่นมีกติกาได้ เล่นบทบาทสมมติ
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- การเล่นกลางแจ้ง
- การเล่นในร่ม
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
1.สภาวะการเรียนรู้ → ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ปรับตัวเข้ากับสิ่งของและผู้อื่น เรียนรู็เหตุและผล
2.พัฒนาการของการรู้คิด → จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3.กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน → กระบวนการเรียนรู้และจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
- เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
- การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
- การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
- ศึกษาสภาพเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
- ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
- มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
- มีการสรุปท้ายกิจกรรม
ประเมินอาจารย์
อาจารย์พาทำกิจกรรมที่สนุกไม่เครียด และมีกิจกรรมที่หลากหลายและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนได้
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือกับอาจารย์เป็นอย่างดี ทุกคนสนุกกับการทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมให้
ประเมินตนเอง
ตั้งใจร่วมกิจกรรมที่อาจารย์จัดให้เป็นอย่างดี ช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น